ชนเผ่าภูไท
|
|
คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่าหรือ “พู้” เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมชาวผู้ไทยอยู่ในแค้วนสิบสองจุไทย และแค้วนสิบสองปันนา(ดินแดนส่วนเหนือของลาว และเวียดนามซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทยซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อร.ศ.107 (พ.ศ.2431) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากภูไทในภาคเหนือของลาว และญวนกลุ่มภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดอาจจะอยู่แถบลุ่มน้ำโขง และแถบเทือกเขาภูพานเช่น จังหวัดนครพนมได้แก่อำเภอคำชะอี ธาตุพนม เรณูนคร นาแก จังหวัดสกลนคร ได้แก่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง สหัสขันธ์ ส่วนภูไทผู้เข้าสู่ภาคกลางในจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ในย่านนั้นเรียกว่า “ลาวโซ่ง” |
|
|
|
วิถีชีวิตและอุปนิสัยชาวภูไท ชาวภูไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกันเป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า นายฮ้อย” เผ่าภูไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดีกริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง วัฒนธรรมการแต่งกาย |
|
|
|
ชาวภูไท(ผู้ไทย) เป็นกลุ่มที่มีความขยัน และอดออมเป็นพิเศษ และมีวัฒนธรรมในเรื่องการถักทอเสื้อผ้าเด่นชัด จึงปรากฏเสื้อผ้า ชนิดต่างๆ ทั้งฝ้าฝ้าย ผ้าไหมในกลุ่มชาวภูไท(ผู้ไทย) โดยเฉพาะผ้าแพรวานับว่ามีวัฒนธรรมเรื่องเสื้อผ้าเด่นชัดมากผ้าซิ่น วัฒนธรรมของกลุ่มภูไทที่เด่นชัด คือ การทอผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อเป็นผืนเดียวกับผ้าผืน เช่น ตีนต่อขนาดเล็ก กว้าง ๔ ถึง ๕ นิ้ว (มือ) ที่เรียกว่า ตีนเต๊าะ เป็นที่นิยมในหมู่ภูไท ทอเป็นหมี่สาด มีหม้อย้อมคราม จนเป็นสีครามเกือบเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านเรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ ลักษณะเด่นของ ซิ่นหมี่ชาวภูไท คือการทอและลวดลาย เช่น ทอเป็นลายขนาดเล็กๆนอกจากนี้มีลายอื่น ๆ เช่น หมี่ปลา หมี่ตุ้ม หมี่กระจัง หมี่ข้อ ทำเป็นหมี่คั่น มิได้ทอเป็นหมี่ทั้งผืน แต่หากมีลายต่าง ๆ มาคั่นไว้ สีที่นิยมคือ สีเขียว สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง พื้นมักใช้เครือหูกฝ้ายสีเปลือกอ้อย นอกจากนี้ยังพบ ผ้ามัดหมี่ฝ้ายขาวสลับดำในกลุ่มผู้ไทย เสื้อ นิยมทำเป็นเสื้อแขนกระบอกสามส่วนติดกระดุมธรรมดา กระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ เช่น เหรียญสตางค์ห้า สตางค์สิบ มาติดเรียงเป็นแถว นิยมใช้เป็นผ้าย้อม ครามเข้มใน ราว พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมีผู้นำผ้าขลิบแดงติดชายเสื้อ เช่น ที่คอสาบเสื้อปลายแขนเพื่อใช้ในการฟ้อนภูไทสกลนคร และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน | |
ฟ้อนภูไทหรือผู้ไท ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี คือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงิน เข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุงผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สี ขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อ ม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพกศีรษะ ฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนคร เป็นฟ้อนผู้ไทที่มีลีลาแตกต่างจากฟ้อนผู้ไทในท้องถิ่นอื่น เนื่องจากฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนคร จะสวมเล็บคล้ายฟ้อนเล็บทางภาคเหนือ ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดง ใช้ผู้หญิงฟ้อนล้วนๆ เครื่องแต่งกายจะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดงห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้า สีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน | |
|