ชนเผ่าโส้ (ไทโส้)
ชนเผ่าโส้ (ไทโส้) | |||||
คำว่า โส้ โซ่ หรือกะโซ่ เป็นคำที่เรียกชื่อชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคอีสาน ชาวโส้จะมีลักษณะชาติพันธุ์ของมนุษย์ในกลุ่มมองโกลอยด์ ตระกูลออสโตร – เอเชียติก มอญ – เขมร เป็นกลุ่มเดียวกับพวกแสก และกะเลิง โดยจากบันทึกกรมพระยาดำรง |
|||||
|
|||||
นักภาษาศาสตร์ได้จำแนก คนโส้ออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ๆตามลักษณะของภาษา คือ กลุ่มของโส้ทะวืงที่อำเภอ ส่องดาว จังหวัดสกลนคร กลุ่มที่สองคือกลุ่มของบรู ซึ่งเป็นโส้อีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอุบลราชธานีและมุกดาหาร และ โส้กลุ่มสุดท้ายที่นับว่าเป็นโส้กลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือ โส้กุสุมาลย์ ที่อยู่ในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร |
|||||
|
|||||
กะโส้ จากเมืองกุสุมาลยมณฑล (จ. สกลนคร) ใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งดิน เรียกโส้ทั่งบั้ง ประกอบร้องรำทำเพลงรอบไหเหล้าอุเล่นถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร สมัย ร.5 เสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ วันที่ 13 |
|||||
|
|||||
ความเชื่อและพิธีกรรมของคนโส้กุสุมาลย์ |
|||||
|
|||||
การแต่งกายและบ้านเรือนชาวโส้ |
|||||
การแต่งกายและบ้านเรือนชาวโส้ ชาย ใส่เสื้อหม้อห้อม นุ่งโสร่งผ้าไหม มีผ้าขาวม้าโพกหัว และคาดเอว |
|||||
|
|||||
ประเพณี/งานเทศกาลที่สำคัญ คือ งานเทศกาลโส้รำลึก เป็นงานประจำปีของชาวโส้ ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ การแสดงโส้ทั่งบั้ง จะเริ่มในตอนสายของวันขึ้น ๔ ค่ำ ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการเป็นการแสดงพิธีเยา (เชิญวิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนามหรือแซงสนาม) และพิธีเจี้ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงามเป็นจังหวะสอดคล้อง กับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารำของสาวโส้ ที่มาร่วมแสดงเป็นจำนวนมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านนานาชนิดให้แก่ผู้ไปเที่ยวชมในราคาถูก การคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถึงบริเวณงาน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ การแสดงโส้ทั่งบั้ง จะเริ่มในตอนสายของวันขึ้น ๔ ค่ำ ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการเป็นการแสดงพิธีเยา (เชิญวิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนามหรือแซงสนาม) และพิธีเจี้ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงามเป็นจังหวะสอดคล้อง กับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารำของสาวโส้ ที่มาร่วมแสดงเป็นจำนวนมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านนานาชนิดให้แก่ผู้ไปเที่ยวชมในราคาถูก การคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถึงบริเวณงาน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร | |||||
พิธีกรรมที่สำคัญ | |||||
การเหยา การไหว้ผีทุกข้างขึ้นและข้างแรม | |||||
ภาษีโส้ จัดอยู่ในสาขาย่อยมอญ-เขมร มีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน คำในภาษามักเป็น ๒-๓ พยางค์ และเป็นภาษาที่ไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ แต่มีลักษณะสำคัญคือ มีลักษณะน้ำเสียงปกติและน้ำเสียงต่ำ ทุ้มเพื่อการจำแนกความหมายของคำ |
|||||
นอกจากนี้พบว่ามีชาวโส้อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ั่วไป เช่น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง อำเภอดอนตาล อำเภอคำชะอี อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อพยพมาในช่วง ร,๓ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเมืองในแถบเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัยในแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๗ มีพระอารัญอาษา หัวหน้าเผ่าโซ่ เป็นเจ้าเมืองคนแรก | |||||
การแต่งกายและการแสดง | |||||
|
|||||
กะโซ่เมื่อร้อยปีก่อน | |||||
|
|||||
ที่มาของข้อมูล : http://www.sakonnakhon.go.th/officeprovince/culture.html