Site icon สกลนครไกด์.คอม

ชนเผ่ากะเลิง

ชนเผ่ากะเลิง

      ชนเผ่ากะเลิง เป็นชาติพันธุ์หนึ่งในหลายๆ กลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมาการเลือกหลักแหล่งทำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิงเป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตามไหล่เขาและเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่บนพื้นที่ราบประปนกับโย้ย ญ้อ ทำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่ม ไทย-ลาว ชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง จากการสันนิษฐานของนักวิชาการ กล่าวไว้ว่า ชาวจีนเขียนไว้ว่า คุณลุน หรือ กุรุง จนเพื่อนเป็นกะลุง ในภาษาจาม เมื่อขาวเขมรมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตอนเหนือของเวียดนาม ได้ยืมคำนี้มาจากพวกจาม แหล่งที่อยู่ของชาวกะเลิง ไม่ห่างจากเมืองเง่อานในบริเวณเทือกเขาจากทางทิตตะวันตกและคณะสำรวจดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง นำโดย ร.อ.เดอมาเกลฟ ได้กล่าวถึงถิ่นที่อยู่ของชนเผ่ากะเลิงว่าอยู่ที่ลุ่มน้ำตะโปน และบริเวณต้นน้ำเซบังเหียนชนเผ่ากะเลิงเป็นผู้ที่รักความสงบ ชนเผ่ากะเลิงในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นที่ยอมรับกันว่าได้อพยพมาจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อพยพข้ามมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การปราบปรามเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และอพยพครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕
เมื่อครั้งเกิดกบฏจีนฮ่อ ที่ยกกำลังเข้ามาตีเมืองเชียงขวาง ชุมนุมพลอยู่ที่เชียงทุ่งคำ เตรียมยกเข้าตีหัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง เมืองที่อยู่ในปกครองของไทย คือ เมืองหลวงพระบาง ก็ถูกคุกคามจากพวกฮ่อเช่นกัน ทำให้ไทยต้องยกกำลังไปปราบฮ่อหลายครั้ง พร้อมทั้งส่งแม่ทัพนายกองเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน ไปช่วยปราบฮ่อด้วย เมืองสกลนคร ถูกเกณฑ์ช้าง ๒๕ เชือก โคต่างๆ ๑๐๐ ตัว ข้าวสาร ๓๐๐ ภึง กำลังพล ๑,๐๐๐ คน โดยมีอุปฮาด (โง่นคำ) กับราชวงศ์ (ฟอง) เป็นนายกองสะเบียงยกไปการำศึกกับฮ่อหลายครั้ง ทำให้ผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่างๆ เดือดร้อน วิตกังวลถึงอันตรายที่เกิดขึ้น จึงได้มีการอพยพติดตามแม่ทัพนายกองเข้ามาอยู่ในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะหมู่บ้านชนเผ่ากะเลิงในบริเวณใกล้ๆ ตัวเมืองสกล เช่น บ้านนายอ บ้านนามน บ้านโพนงาม ที่มีชนเผ่ากะเลิงอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชนเผ่ากะเลิงที่อพยพมาจากเมืองภูวานากระแด้ง ในสมัยพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) ต่อมามีผู้นำชาวกะเลิงที่สมัครใจอพยพขึ้นไปตั้งหลักแหล่งบนเทือกเขาภูพาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบบ้านบัว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
            ซึ่งไม่ปรากฎหหลักฐานว่า เริ่มตั้งหลักเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า ชาวกะเลิงอพยพมาอยู่ประมาณ ๑๕๐ ปี มาแล้วต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ได้เกิดโรคระบาดที่เรียกว่า โรคห่าอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวติจำนวนมาก จึงมีการอพยพหนีโรคร้ายบางกลุ่มไปตั้งหลักอยู่ที่บ้านเหล่าซึ่งอยู่ห่างจากบ้านบัว ประมาณ ๑ กิโลเมตร สำหรับบ้านบัว เป็นสถานที่แห่งแรกตั้งหมู่บ้านอยู่ริมห้วยทราย และมีหนองน้ำขนาดใหญ่มีกอบัว ดอกบัวบานสะพรั่ง ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านบัวห้วยทราย แต่ต่อมาทางราชการเรียกว่า บ้านบัว เพื่อให้คำเรียกหมู่บ้านกระทัดรัดแสดงความสำคัญของหนองบัวในหมู่บ้าน ชาวกะเลิง มีลักษณะรูปร่างเตื้ย ผิวคล้ำ เป็นคนซื่อๆ ชอบสนุก และชอบอยู่ตามป่า ตามเขาหาอาหารโดยการล่าสัตว์ หญิงชาวกะเลิง เป็นคนขี้อาย แต่แข็งแรง อดทน ประเพณีการแต่งกายของชาวกะเลิง แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือเย็บด้วยมือ
          ชาวกะเลิงมีวัฒนธรรมการแต่งกาย ดังนี้ ผ้าซิ่น ใช้ด้าย ๒ เส้น มาทำเกลียมควบกัน ใช้ทั้งผ้าฝ้ายธรรมดาและผ้าไหม เป็นผ้าตีนเต๊าะแต่มีเชิงแถบเล็กๆ แคบ ๒ นิ้ว นิยมสีเปลือกอ้อย เข็นด้วยด้ายสีแดง เหลืองเป็นสายเล็กๆ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ผ้าฝ้ายเข็น ๒ เส้นควบกัน เช่นแดงควบเหลือง น้ำเงินควบขาว เขียวควบเหลือง ถ้าไม่ใช่ผ้าตืนเต๊าะ มักนุ่งสั้น เส้อกะเลิงนิยมแต่งตัวกระทัดรัด เช่น ถ้านุ่งผ้าซิ่นฝ้ายสั้นมักใช้ผ้าทอพื้นบ้าน เป็นตาสี่เหลี่ยมเล็กๆ คาดอก โพกผ้าบนศรีษะ สะพายกะหยัง ขึ้นภูเก็บผักเก็บหญ้า ส่วนกะเลิงที่นุ่งซิ่นยาวคลุมเข่ามักสวมเครื่องประดับ เช่น สร้อยข้อมือ ทำด้วยรัตนชาติ หรือดินเผา ใส่ต่างหูเป็นห่วงกลม เสื้อแขนยาวสีขาวเหลือง เก้บชายเสื้อคาดเข็มขัดเงิน เป็นชุดที่ใช้ในงานมงคลต่างๆ นับเป็นเครื่องแต่งกายที่งดงามที่สุดของชาวเผ่ากะเลิงวัยหนุ่มสาว ส่วนกะเลิงสูงอายุ มักนุ่งซิ่นลายดำ ขาวแดง สวมเสื้อแขนกระบอกย้อมคราม ที่สาบเสื้อมีเหรียญสตางค์แดงติดเป็นแนวกระดุม เกล้าผมสูง
Exit mobile version