ชนเผ่าไทยย้อ
ไทยย้อ เป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชอบเรียกตัวเองว่าเป็นชาวย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร, ชาวย้อในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย), ช้าวย้อในจังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน) และชาวย้อในจังหวัดมุกดาหาร (ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง) ภาษาและสำเนียงชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อมีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาหรือยูนนาน ต่อมาชาวย้อบางส่วนได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองหงษา แขวงไชยบุรีของลาวปัจจุบัน เมืองหงษาเดิมอยู่ในเขตของราชอาณาจักรไทยแล้วตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและลาวต่อมา แขวงไชยบุรีของลาวเคยกลับคืนมาเป็นดินแดนของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2483 ถึง พ.ศ.2489 เรียกว่า “จังหวัดล้านช้าง” แต่ก็ต้องคืนดินแดนส่วนนี้ไปให้ฝรั่งเศสและลาวอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาชาวไทยย้ออีกส่วนหนึ่งได้ อพยพมาตามลำน้ำโขงและตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองไชยบุรี (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม) ในสมัยราชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2351 ครั้นเมื่อเกิดกบฎเจ้า อนุวงษ์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2369 พวกไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์กวาดต้อนให้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกและได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ.2373 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงเลง เป็น “พระศรีวรราช” เจ้าเมืองคนแรก คือท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน นอกจากนี้ไทยย้อจากเมืองคำเกิด, คำม่วนยังได้อพยพมาตั้งเป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ.2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิด เป็น “พระสุวรรณภักดี” เจ้าเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านท่าขอนยาง,
|
|
บ้านกุดน้ำใส, บ้านยาง, บ้านลิ้นฟ้า, บ้านโพนและยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง, บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม, บ้านจำปา, บ้านดอกนอ, บ้านบุ่งเป้า, บ้านนาสีนวลอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม, บ้านหนองแวง, บ้านสา อำเภอยางตลาดและบ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ “ส่วนไทยย้อในจังหวัดสกลนครอพยพมาจากเมืองมหาชัยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งเป็นดินแดนลาวในปัจจุบัน เมืองมหาชัยอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงและเมืองนครพนมประมาณ 50 ก.ม. ไทยย้อจากเมืองมหาชัยอพยพข้ามโขงมาตั้งอยู่ริมหนองหารในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381” |
|
2. การแต่งกาย เอเจียน แอมอนิเย นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้บันทึกเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวย้อไว้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2425 ว่า “หญิงสาวจะมีผิวขาวรูปร่างสูงโปร่ง คงจะเป็น คนลาวที่สวยที่สุด พวกเขาใส่กำไลเงินและนุ่งซิ่นลาย ชอบผ้าสไบสีแดงมากกว่าสีเหลือง ผู้ชายจะตัดผมสั้นแบบสยาม ไว้เคราสั้น และสวมใส่เสื้อแบบคน ลาวอื่นๆนุ่งผ้าม่วงใน ท้องถิ่น ทำจากไหมหรือ | |
3. ลักษณะภูมิประเทศและที่อยู่อาศัย ชาวไทย้อชอบตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำซึ่งชื่อเมือง ชาวไทย้อมักมีคำว่า “ท่า” ขึ้นก่อน เช่น เมืองท่าขอนยาง เมืองท่าอุเทน ลักษณะบ้านเรือนของชาว ไทย้อ คล้ายกับบ้านเรือนของชาวไทย ตัวเรือนเป็นเรือนใต้ถุนสูง มีชายคาที่เรียกว่า เซีย มีชานติดกับครัว มีเล้าข้าวอยู่ทาง ด้านหลังบ้าน ถ้าเป็นบ้านของชาวไร่ชาวนา ทั่วไปก็จะมุงด้วยหญ้าแฝก ฝาผนังเป็นฟาก สับสานลานสอง บ้านที่มีฐานะดีก็จะ มุง ด้วยกระเบื้องเกร็ด หรือสังกะสี และ เปลี่ยนฝาผนังเป็นไม้กระดานซึ่งมีให้เห็นในปัจจุบัน ชาวย้อ นิยมสร้างบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่มสังคมย่อยในวงศ์ญาติพี่น้องของตน และเมื่อมี จำนวนมากขึ้นก็กลายเป็นหมู่บ้านหรือที่เรียกว่า “คุ้ม” และมีวัดประจำคุ้ | |
4. โครงสร้างทางสังคม และระบบเศรษฐกิจ ชาวไทย้อมีอาชีพด้านเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว กล้วย อ้อย สับปะรด ยาสูบ และพืชผักตามฤดูกาล รองลงมาได้แก่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำในลำน้ำ เนื่องจากว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้แม่น้ำ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำสงครามและแม่น้ำชี ลักษณะครอบครัวของชาวไทย้อส่วนใหญ่เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว ลักษณะเครือญาติไทย้อมีลักษณะเด่นตรงที่ว่าพวกเขาแม้จะแยกครอบครัวไปแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันเสมอ ชาวไทย้อเชื่อกันว่าผู้จะทำหน้าที่แทนพ่อ ได้เป็นอย่างดี คือ ลูกชาย เพราะฉะนั้นการสืบสายตระกูลและการรับมรดกส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้ชาย หน้าที่ในการหาเงินทองมาจับจ่ายใช้สอยภายในครอบครัว การคุ้มครองดูแลต่างๆ เป็นหน้าที่ของพ่อบ้าน แม่บ้านจะดูแลลูกๆ ภาระหน้าที่ภายในบ้าน | |
5. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ของชาวไทย้อนั้น ชาวไทย้อที่บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา โดยชาวบ้านจะสร้างตูบปู่ตา หรือ โฮงผีปู่ตา โดยชาวย้อถือว่าผีปู่ตาคือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วแต่ยังมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับที่ตั้งของผีปู่ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ สำหรับ ผีบรรพบุรุษของชาวย้อที่ถือว่าเป็นผีปู่ตา มีดังนี้ คือ ผีเจ้าพ่อขุนสำราญ ญาพ่อผีลือสองนางพี่น้องเป็นผีน้องไว้ที่ท่าน้ำ เพื่อรักษาเด็กในขณะลงอาบน้ำ เช่นเดียวกับชาวย้อ ที่ท่าอุเทนมีความเชื่อ ว่าผีมเหสักข์ และผีบรรพบุรุษ คอยปกป้องคุ้มครองให้พวกตนอยู่เย็นเป็นสุข มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ เพื่อตอบแทนคุณผีดังกล่าว ชาวไทย้อที่ท่าอุเทน จึงมีประเพณีเลี้ยงผีโดยจัด พิธีกรรมที่เรียกว่า “ลงนางเทียม” ณ หอผีบ้าน เป็นประจำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง สำหรับประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวย้อนั้น ประเพณีการแต่งงานเมื่อหนุ่มสาวคู่ใดที่รักใคร่ชอบ พอถึง ขั้นตกลงปลงใจที่จะเป็นสามีภรรยากันแล้ว ฝ่ายชายก็จะให้บิดามารดาของตนดำเนินการให้ได้แต่งงานกับหญิงคนรัก ดังนี้ “ไปเจาะ”คือการผู้หญิงที่ช ส่งผูู้ใหญ่ไปทาบทาม “โฮมสาว”คือการ ทำพิธีสู่ขอ “แฮกเสื่อแฮกหมอน” คือการเตรียมการ ได้แก่ การจัดเตรียมเครื่องนอน ประกอบด้วยฟูก หมอน ผ้าห่ม เสื่อ และมุ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง ในการนี้ต้องเชิญผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ชาวบ้านยอมรับว่าเป็น ผัวค้ำเมียคูณ มาทำพิธีตัดเย็บใหชาวย้อเรียกว่า แฮกเสื่อแฮกหมอน “เล่าดอง”คือบอกเล่าวันแต่งงาน “มื้อกินดอง” คือพิธีวันแต่งงาน เมื่อได้ฤกษ์ยาม ดี แล้ว ก็จะเป็นการแห่จ้าวบ่าวพร้อมขันสินสอดของหมั้น พานบายศรี และสำรับที่เรียกว่า “ขำเพีย”ประกอบด้วยไข่ไก่ต้ม 2 ฟอง งา พริกแห้ง และเกลือป่น อย่างละ 1 ถ้วย ไปยังบ้าน เจ้าส สำคัญได้แก่ การวางสินสอดทองหมั้นต่อหน้าเจ้าโคตรลุงตาของเจ้าสาวพิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีป้อนไข่หน่วย พิธีขอพรจากเจ้าโคตรลุงตาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากให้เขยไปสู่ก็ ทำพิธีจูงบ่าวสาวเข้าหอแล้วเลี้ยงอาหารแก่แขกผู้มาร่วมงานเป็นอันเสร็จ พิธีแต่งงานำหรับงานบุญของชาวไทย้อส่วนมากก็เหมือนกับ ชาวอีสานทั่วที่นับถือ พระพุทธศาสนาและ ปฏิบัติตนตาม “ ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ” ศิลปะการแสดง ฟ้อนไทย้อ โดยจะพบในช่วงเทศกาลสงกรานต์เดือนเมษายน และเทศกาลที่สำคัญ ๆ เท่านั้น ในช่วงสงกรานต์นั้นชาวไทย้อจะมีการสงน้ำพระ ในตอนกลางวันโดย มีการตั้งขบวนแห่จากคุ้มเหนือไปยังคุ้มใต้ตามลำดับ ตั้งแต่ขึ้นหนึ่งค่ำเป็นไป จนถึงวันเพ็ญสิบห้าค่ำ เดือนห้า ส่วนในตอนกลางคืนหนุ่มสาวจะ จัดขบวนแห่นำต้นดอกจำปา (ลั่นทม) ไปบูชาวัดที่ผ่านไปเริ่มจากวัดใต้สุดขึ้นไปตามลำดับถึงวัดเหนือสุดซึ่งเป็นคืนสุดท้าย เสร็จพิธีแห่ดอกไม้บูชาองค์พระธาตุท่าอุเทน จะเป็นช่วงแห่งการเกี้ยวพาราสี การหยอกล้อกัน อย่างสนุกสนานของบรรดาหนุ่มสาวชาวไทย้อ นอกจากนี้ก็เป็นการแสดงและเครื่องดนตรีเหมือนกับชาวไทอีสานทั่วไปาว พิธี | |
6. การบริโภคและระบบสาธารณสุข ชาวย้อรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก และรับประทานข้าวเจ้าในบางโอกาส ไม่นิยมรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เหมือนชาวไทยลาว อาหารพื้น เมืองที่มีรับประทานเฉพาะในหมู่ไทย้อ ทำจากปลากราย เรียกว่า “หมกเจาะ” ส่วนอาหารประเภทอื่นก็เหมือนกับชาวไทยลาวทั่วไป ส่วนการรักษาพยาบาลของไทย้อนั้นมีทั้งรักษาด้วยแผนปัจจุบันและแผนโบราณ สำหรับแผนโบราณนั้นก็จะมีการรักษาด้วยยาสมุนไพร และการรักษาด้วยเวทย์มนต ์คาถา โดยมีหมอธรรมเป็นผู้รักษา ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่พบหรือ ที่เชื่อว่าเป็นการกระทำของภูตผีวิญญาณ หรือที่เรียกว่า “ ผีเข้าเจ้าสูน ” อาจจะเป็นผีพระภูมิเจ้าที่ ผีเชื้อ หรือผีบรรพบุรุษ ผีเข้าสิง เสียขวัญ และถูกผีปอบเข้าสิง ในกรณีที่ผีปอบเข้าสิงยิ่งเป็นอันตรายต่อคนป่วยอย่างยิ่ง ถ้าเรียกหมอธรรมมารักษาไม่ทัน ผีปอบอาจจะกินคนป่วย จน ตาย ผู้ที่เป็นหมอธรรมจะต้องมีสายสิญจน์ แส้หวาย (ปะกำ) แล้วถามชื่อผีปอบว่า ชื่อ อะไร มาจากไหน หมอธรรมจะ ใช้แส้ปะกำโบย แล้วใช้สายสิญจน์มัดผู้ป่วยเอาไว้ แล้วสอนสัมทับอีกว่าต่อไปจะไม่มาทำผู้อื่นอีกโดยให้กินน้ำสาบานแล้วขอขมากับหมอธรรม โดยใช้ ลิ้นเลียปลายเท้า แล้วสัญญาว่าจะไม่กลับมาทำร้ายผู้ป่วยอีก | |