ปราสาทบ้านขอม(กู่พันนา) อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กม. ในเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานีลักษณะของปราสาทมียอดเดียว ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง บริเวณใกล้กับตัวปราสาทมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ มีน้ำขังตลอดปี เชื่อว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบางส่วนยังคงสภาพสมบูรณ์ กู่พันนาเป็นศาสนสถานประจำ สถานพยาบาลเรียกว่า “อโรคยศาล”สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม ประกอบด้วยปราสาทประธานทรงสี่เหลี่ยมก่อมุข ทางด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกและวิหารที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียง ใต้ ที่มุขด้านหน้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีโคปุระหรือประตูซุ้มขนาดใหญ่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากรุด้วย ศิลาแลง จากการขุดแต่งในปี ๒๕๔๒ พบโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่เศียรพระวัชรธร ชิ้นส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปราณีทรงครุฑ พระยมทรงกระบือ พบชิ้นส่วนพระกรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประติมากรรมเหล่านี้เป็นรูปเคารพ ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน รูปแบบเขมรแบบบายน (ราว พ.ศ. ๑๗๒๐-๑๗๘๐) กรมศิลปากรประกาศ กู่พันนา เป็นโบราณสถานของชาติเมื่อ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศขอบเขต เมื่อ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ พื้นที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๓๓ ตารางวา นอก จากนี้ที่บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน ยังพบเครื่องปั้นดินเผายุคบ้านเชียง เป็นจำนวนมากในชั้นเหนือดินขึ้นมา พบภาชนะดินเผาและโบราณวัตถุ สมัยทวาราวดี และสมัยลพบุรี จนมาถึงสมัยล้านช้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๓